กระบวนพยุหยาตราชลมารค สืบสานฟื้นฟูพระราชประเพณีโบราณ หนึ่งเดียวในโลก!!!
บันทึกงานของในหลวงรัชกาลที่9 ตอน กระบวนพยุหยาตราชลมารค
กระบวนพยุหยาตราชลมารค สืบสานฟื้นฟูพระราชประเพณีโบราณ หนึ่งเดียวในโลก
การเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราในงานพระราชพิธีต่างๆ นับเป็นธรรมเนียมในราชสำนักอย่างหนึ่ง
ถือเป็นประเพณีโบราณนับแต่ครั้งสมัยสุโขทัยจวบจนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงยึดถือและดำเนินรอยตามแบบธรรมเนียมประเพณี
โดยเฉพาะกระบวนพยุหยาตราชลมารค ที่พระองค์ท่านทรงฟื้นฟูขึ้นใหม่ ด้วยทรงเล็งเห็นความสำคัญของเรือพระที่นั่งและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทยอันทรงคุณค่าให้ดำรงอยู่เป็นที่ประจักษ์เชิดหน้าชูตาต่อสังคมชาวโลก
กระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ
โดยเรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย ซึ่งขบวนเรือพระราชพิธีนี้ เป็นสิ่งที่แสดงถึงคุณค่าทางศิลปะวัฒนธรรม ของชนชาติไทย
ทั้งทางด้าน คีตศิลป์ กวีศิลป์ผ่านกาพย์เห่เรือที่ถูกเรียงร้อยอย่างบรรจงด้วยภาษาที่สละสลวยและการเอื้อนเอ่ย ด้วยน้ำเสียงและท่วงทำนองอันเป็นเอกลักษณ์
นอกจากนั้นความอ่อนช้อยของโขนเรือและลำเรือที่ถูกสลักเสลาอย่างวิจิตรงดงาม ยังถ่ายทอดให้เห็นถึงความชาญฉลาดในประติมากรรมการต่อเรืออย่างประณีตและเป็นเอกลักษณ์ที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลก
พระราชพิธีในกระบวนพยุหยาตราชลมารค อดีตจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาบ้านเมืองปราศจากสงคราม เพราะเมื่อถึงฤดูน้ำหลากอันเป็นเวลาที่ ราษฎรว่างจากการทำนา
จึงเรียกระดมพลมาฝึกซ้อมกระบวนทัพเรือโดยอาศัยฤดูกาล ประจวบกับเป็นช่วงของประเพณีการทอดกฐิน พระเจ้าแผนดินจึงเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนเรือรบแห่แทน เพื่อให้ไพร่พลได้รื่นเริงในการกุศล
นอกจากนั้นกระบวนพยุหยาตราชลมารคในอดีต ยังได้จัดในคราวที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปในการต่างๆ
ทั้งส่วนพระองค์และที่เป็นพระราชพิธีตลอดจนโอกาสสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษกการเสด็จพระราชดำเนิน
ไปนมัสการรอยพระพุทธบาท การอัญเชิญพระพุทธรูปที่สำคัญจากหัวเมืองเข้าประดิษฐานในเมืองหลวง รวมถึงการต้อนรับทูตต่างประเทศ
สำหรับในสมัยในหลวงรัชกาลที่9 ได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคจำนวน 18 ครั้ง
โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2555 จัดเป็นกระบวนพยุหยาตราชลมารค ใหญ่ 5 ริ้ว ใช้เรือ พระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ
เพื่อเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม โดยใช้เรือ พระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ
ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง จำนวน 4 ลำ คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
เรือรูปสัตว์ จำนวน 8 ลำ เรือดั้ง จำนวน 22 ลำและเรือ ประกอบอื่น ๆ จำนวน 18 ลำ
โดยเรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารค มีดังนี้ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช, เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์, เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์, เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9, เรือเอกไชยเหินหาว, เรือเอกไชยหลาวทอง, เรือพาลีรั้งทวีป, เรือสุครีพครองเมือง, เรืออสุรวายุภักษ์, เรืออสุรปักษี, เรือกระบี่ปราบเมืองมาร, เรือกระบี่ราญรอนราพณ์, เรือครุฑเหินเห็จ, เรือครุฑเตร็จไตรจักร, เรือเสือทยานชล, เรือเสือคำรณสินธุ์, เรืออีเหลือง, เรือทองขวานฟ้า, เรือทองบ้าบิ่น, เรือแตงโม, เรือดั้ง, เรือแซง และเรือตำรวจ
MThai News
กระบวนพยุหยาตราชลมารค สืบสานฟื้นฟูพระราชประเพณีโบราณ หนึ่งเดียวในโลก
การเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราในงานพระราชพิธีต่างๆ นับเป็นธรรมเนียมในราชสำนักอย่างหนึ่ง
ถือเป็นประเพณีโบราณนับแต่ครั้งสมัยสุโขทัยจวบจนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงยึดถือและดำเนินรอยตามแบบธรรมเนียมประเพณี
โดยเฉพาะกระบวนพยุหยาตราชลมารค ที่พระองค์ท่านทรงฟื้นฟูขึ้นใหม่ ด้วยทรงเล็งเห็นความสำคัญของเรือพระที่นั่งและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทยอันทรงคุณค่าให้ดำรงอยู่เป็นที่ประจักษ์เชิดหน้าชูตาต่อสังคมชาวโลก
กระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ
โดยเรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย ซึ่งขบวนเรือพระราชพิธีนี้ เป็นสิ่งที่แสดงถึงคุณค่าทางศิลปะวัฒนธรรม ของชนชาติไทย
ทั้งทางด้าน คีตศิลป์ กวีศิลป์ผ่านกาพย์เห่เรือที่ถูกเรียงร้อยอย่างบรรจงด้วยภาษาที่สละสลวยและการเอื้อนเอ่ย ด้วยน้ำเสียงและท่วงทำนองอันเป็นเอกลักษณ์
นอกจากนั้นความอ่อนช้อยของโขนเรือและลำเรือที่ถูกสลักเสลาอย่างวิจิตรงดงาม ยังถ่ายทอดให้เห็นถึงความชาญฉลาดในประติมากรรมการต่อเรืออย่างประณีตและเป็นเอกลักษณ์ที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลก
พระราชพิธีในกระบวนพยุหยาตราชลมารค อดีตจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาบ้านเมืองปราศจากสงคราม เพราะเมื่อถึงฤดูน้ำหลากอันเป็นเวลาที่ ราษฎรว่างจากการทำนา
จึงเรียกระดมพลมาฝึกซ้อมกระบวนทัพเรือโดยอาศัยฤดูกาล ประจวบกับเป็นช่วงของประเพณีการทอดกฐิน พระเจ้าแผนดินจึงเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนเรือรบแห่แทน เพื่อให้ไพร่พลได้รื่นเริงในการกุศล
นอกจากนั้นกระบวนพยุหยาตราชลมารคในอดีต ยังได้จัดในคราวที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปในการต่างๆ
ทั้งส่วนพระองค์และที่เป็นพระราชพิธีตลอดจนโอกาสสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษกการเสด็จพระราชดำเนิน
ไปนมัสการรอยพระพุทธบาท การอัญเชิญพระพุทธรูปที่สำคัญจากหัวเมืองเข้าประดิษฐานในเมืองหลวง รวมถึงการต้อนรับทูตต่างประเทศ
สำหรับในสมัยในหลวงรัชกาลที่9 ได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคจำนวน 18 ครั้ง
โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2555 จัดเป็นกระบวนพยุหยาตราชลมารค ใหญ่ 5 ริ้ว ใช้เรือ พระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ
เพื่อเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม โดยใช้เรือ พระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ
ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง จำนวน 4 ลำ คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
เรือรูปสัตว์ จำนวน 8 ลำ เรือดั้ง จำนวน 22 ลำและเรือ ประกอบอื่น ๆ จำนวน 18 ลำ
โดยเรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารค มีดังนี้ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช, เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์, เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์, เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9, เรือเอกไชยเหินหาว, เรือเอกไชยหลาวทอง, เรือพาลีรั้งทวีป, เรือสุครีพครองเมือง, เรืออสุรวายุภักษ์, เรืออสุรปักษี, เรือกระบี่ปราบเมืองมาร, เรือกระบี่ราญรอนราพณ์, เรือครุฑเหินเห็จ, เรือครุฑเตร็จไตรจักร, เรือเสือทยานชล, เรือเสือคำรณสินธุ์, เรืออีเหลือง, เรือทองขวานฟ้า, เรือทองบ้าบิ่น, เรือแตงโม, เรือดั้ง, เรือแซง และเรือตำรวจ
MThai News
กระบวนพยุหยาตราชลมารค สืบสานฟื้นฟูพระราชประเพณีโบราณ หนึ่งเดียวในโลก!!!
Reviewed by Unknown
on
01:49
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: