เหตุผลที่ผมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2559


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมฤทธิ์ ลือชัย 
นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และพุทธศาสนาได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Somrit Luechai ระบุว่า 
“เหตุผลที่ผมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2559 คือในมาตรา 67 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ซึ่งระบุว่า
----------------------
“…ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและเผยแผ่หลักธรรมของพุทธศาสนาเถรวาท 
เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา…”
----------------------
ประเด็นคือทำไมต้องระบุคำว่า “พุทธศาสนาเถรวาท” ทั้งๆ ที่ในรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ไม่มีคำนี้ และคำถามต่อมาคือ “พุทธศาสนาเถรวาทของใคร?” ในความจริงแล้วเถรวาทในไทยมีหลายสำนัก ดังนั้น เห็นกันชัดๆ ว่าเถรวาทที่จะเข้าข่ายได้รับการส่งเสริม 
และสนับสนุนจากรัฐนั้น ต้องเป็นเถรวาทที่เอื้อประโยชน์ต่อรัฐ 
เป็นเถรวาทที่รัฐพอใจยินดี
----------------------
แล้วพุทธศาสนาเถรวาทสำนักอื่นๆ ล่ะ? ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเถรวาทที่รัฐไทยยังไม่รับรองล่ะ? จีนนิกาย? อานัมนิกาย? เหล่านี้ไม่ใช่พุทธศาสนาหรือ? ทำไมต้องจำกัดแค่ “เถรวาท” เท่านั้น มิใยต้องพูดถึงศาสนาอื่น หรือลัทธิอื่น”

----------------------

“กล่าวโดยสรุปก็คือ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะดึงพุทธศาสนาให้เข้ามารับใช้รัฐอย่างเต็มตัว เปรียบเสมือนดึงพุทธศาสนาจากที่กว้างมาสู่ที่แคบและท้ายที่สุดแล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นพิษภัยต่อพุทธศาสนาเอง โดยทฤษฎีแล้วเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนาคือนิพพานและเส้นทางสู่เป้าหมายนั้นมีหลายวิธีหลายเส้นทาง 
แต่ตอนนี้รัฐไทยกำลังจำกัดว่า “เถรวาท” เท่านั้นคือคำตอบสุดท้าย
ผมขอแย้งว่า” เป็นคำตอบที่ผิดถนัดครับ” นี้แหละคือเหตุผลที่ผมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ 

       อีกทั้ง ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเรื่องศาสนา ให้ร่วมฟังกลุ่ม ?พุทธราษฎร์? มองร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. … ในวันที่ 11 เมษายน เวลา 13.00 น. ที่โรงแรมรอยัลรัตนโกสินทร์ จัดโดยมูลนิธิพุทธสาวิกา โดยเชิญวิทยากรที่มีความรู้ความเข้าใจ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องร่วมถกกันในเวที เสวนานี้ ได้แก่ นายกิตติชัย จงไกรจักร 

ผู้ช่วยนักวิชาการปฏิรูปกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และผม” นายสมฤทธิ์ระบุ
----------------------

นายสมฤทธิ์ เปิดเผยว่า สาเหตุผลที่ตนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 คือมีบางบทบัญญัติ เช่น ในมาตรา 67 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ซึ่งระบุคำว่าพุทธศาสนาเถรวาท ทั้งๆ ที่ในรัฐธรรมนูญปี 2540 และปี 2550 ไม่มีคำนี้ และคำถามต่อมาคือพุทธศาสนาเถรวาทเป็นของใคร ในความจริงแล้วเถรวาทในไทยก็มีหลายสำนัก ดังนั้น เห็นกันชัดๆ ว่าเถรวาทที่จะเข้าข่ายได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนจากรัฐนั้น ต้องเป็นเถรวาทที่เอื้อประโยชน์ต่อรัฐ เป็นเถรวาทที่รัฐพอใจยินดี แล้วพุทธศาสนาเถรวาทสำนักอื่นๆ เหล่านี้ไม่ใช่พุทธศาสนาหรือ โดยสรุปคือร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะดึงพุทธศาสนาให้เข้ามารับใช้รัฐอย่างเต็มตัวเปรียบเสมือนดึงพุทธศาสนาจากที่กว้างมาสู่ที่แคบ และท้ายที่สุดแล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็จะเป็นพิษภัยต่อพุทธศาสนาเอง
----------------------

นายสมฤทธิ์กล่าวอีกว่า ส่วนที่มีพระสงฆ์บางรูปมองว่าบทบัญญัติดังกล่าวคุ้มครองพระพุทธศาสนาทุกนิกายแต่เรื่องการเผยแผ่ศาสนา และการศึกษา จะเน้นหลักใหญ่ที่ชาวพุทธไทยนับถือคือนิกายเถรวาทกรณีนี้มองจากประสบการณ์ที่ตนเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทำให้ทราบว่าพระสงฆ์หลายรูปมีความไม่รู้มากกว่าความรู้ จึงอยากถามว่าท่านรู้หรือไม่ว่ารัฐธรรมนูญคืออะไร

----------------------
ขอยกตัวอย่างว่าหากมีกฎหมายระบุว่า

“โรงพยาบาลแห่งนี้รักษาเฉพาะคนไทย รักษาคนไทยเป็นเบื้องต้น 
คนชาติอื่นเข้ามารักษาด้วยไม่เป็นไร” จะมีใครยอมรับกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ โดยหลักการทั้งในแง่ศาสนา และแง่ของรัฐ ต้อคุ้มครองดูแลอย่างเท่าเทียมกัน และเรื่องการนับถือศาสนาเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลรัฐไม่ควรมากำกับเรื่องดังกล่าว รัฐธรรมนูญที่ดีต้องตอบโจทย์ในแง่ความเชื่อ มีเสรีภาพ และเสมอภาค ที่สำคัญหน้าที่ของรัฐต้องทำให้ทุกศาสนาจับมือกันเป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน ไม่ใช่มาจำกัดศาสนาให้แคบลง
----------------------

พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺทสาโร) 
เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย (ศพศ) 
กล่าวว่า ที่นายสัมฤทธิ์โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึง
เหตุผลที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 ในมาตรา 67 หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ
----------------------
เพราะมองว่ารัฐอุปถัมภ์คุ้มครองพุทธศาสนานิกายเถรวาท
แต่ไม่คุ้มครองนิกายอื่นๆ นั้น บทบัญญัติดังกล่าวระบุชัดว่า
รัฐบาลอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนาทุกนิกายเท่าเทียมกัน 
แต่ในส่วนของนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นนิกายที่ชาวพุทธในไทยส่วนใหญ่นับถือ 
----------------------
ดังนั้น รัฐจึงสนับสนุนการศึกษาการเผยแผ่หลักธรรมศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นหลัก เพื่อให้ทิศทางในการเผยแผ่ศาสนาเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งนี้ ศาสนาพุทธทุกนิกายอยู่ร่วมกันได้ แม้จะมีความแตกต่างกันด้านพิธีกรรมบ้างก็ตาม แต่ที่เป็นปัญหาคือการไม่บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติต่างหาก

เหตุผลที่ผมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2559 เหตุผลที่ผมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2559 Reviewed by Unknown on 02:35 Rating: 5

2 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว ทุกศาสนาอยู่กันได้อย่างเป็น อิสระ ไม่ต้องบีบบังคับให้เกียรติต่อกัน สาธุ

    ตอบลบ
  2. ถ้าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว ทุกศาสนาอยู่กันได้อย่างเป็น อิสระ ไม่ต้องบีบบังคับให้เกียรติต่อกัน สาธุ

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.