อย่าหลงเชื่อ! เรื่องสิทธิมนุษยชน

Human Rights Watch 
ออกใบแถลงข่าวเรื่องรัฐบาลไทย ละเมิดสิทธิมนุษย์ชน
May 11, 2016

ระบุชัด อย่าไปหลงเชื่อคำสัญญาจากรัฐบาลไทย เรื่องสิทธิมนุษยชน


เจนีวา กลุ่มเฝ้าระวังการละเมิดสิทธิมนุษยชนกล่าววันนี้ว่า สิ่งที่รัฐบาลไทยได้เคยให้คำมั่นสัญญากับ-คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติว่าจะเคารพสิทธิมนุษยชน และรักษาวิถีทางแห่งประชาธิปไตยนั้นดูเหมือนจะเลื่อนลอยไร้ความหมาย ประเทศไทยได้อุทธรณ์เป็นครั้งที่ 2 ต่อคณะมนตรี ฯ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า Universal Periodic Review หรือ UPR ที่เจนีวา เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 

โดยกระบวนการ UPR นี้ เป็นการจัดลำดับสถานการณ์ด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนในแต่ละประเทศขององค์การสหประชาชาติ

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 รัฐบาลไทยได้ส่งรายงานต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การ-สหประชาชาติโดยระบุว่ามี “สิ่งสำคัญที่สุดเพื่อที่จะส่งเสริมและรักษาสิทธิมนุษยชนสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม”

อย่างไรก็ตาม คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ห้ามในเรื่องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานด้วยการ- นิรโทษกรรม การควบคุมโดยทหารอย่างเคร่งครัด และเมินเฉยต่อพันธะด้านสิทธิมนุษยชนสากล

 นายจอห์น ฟิเชอร์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะมนตรี ฯ ที่เจนีวา กล่าวว่า ในขณะที่หลายประเทศแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย คณะผู้แทนจากประเทศไทยกลับไม่แสดงท่าทีใดๆ เพื่อคลายความกังวลของประเทศต่างๆ ในเรื่องนี้

 คสช. ซึ่งนำโดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้การดำเนินนโยบายในการลิดรอนสิทธิ์ตั้งแต่ก่อรัฐประหาร เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้อำนาจสูงสุกแก่ คสช. ทั้งในด้านการบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ตลอดจนการปลอดจากการตรวจสอบใดๆ ซึ่งเกิดจากการทำหน้าที่ของ คสช.

 แทนที่จะดำเนินการเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาธิปไตยตามที่เคยให้สัญญาไว้ใน roadmap หรือแผนกลยุทธ์ คสช. กลับกำหนดโครงสร้างทางการเมืองเพื่อให้ตนนั้นสามารถอยู่ต่อไปได้ ร่างรัฐธรรมนูญซึ่งถูกเขียนโดยบุคคลที่ คสช. เป็นผู้แต่งตั้ง เขียนให้ คสช. มีอำนาจทางทหารแม้จะมีรัฐบาลใหม่แล้วก็ตาม

 รัฐบาลใช้กฎหมายควบคุมสื่อมวลชน สอดแนมประชาชนผ่านทางโลกโซเชียล และควบคุมการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี คสช. ยังห้ามวิจารณ์การดำเนินนโยบาย หรือการกระทำของ คสช. ต่อสาธารณะ ตัวอย่างเช่น ในเดือนเมษายน คสช.จับกุมนายวัฒนา เมือสุข อดีตรัฐมนตรี เป็นเวลา 4 วัน ในข้อหาแสดง-ความคิดเห็นขัดแย้งต่อร่างรัฐธรรมนูญผ่านทางเฟสบุ๊ค ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะมีการทำประชามติ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559

 ตั้งแต่ยึดอำนาจ รัฐบาลดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนร่วมในการต่อต้านการดำเนินกิจกรรมของรัฐบาล หรือให้การสนับสนุนรัฐบาลชุดก่อน ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีผู้ถูกจับในข้อหาปลุกระดมมวลชน หรือวิจารณ์การกระทำของรัฐบาล และละเมิดกฎหมายเรื่องการชุมนุมของ คสช. อย่างน้อย 46 คน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559 มีผู้ถูกจับและถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าระดมมวลชน และอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยการโพสแสดงความเห็นเชิงถากถางนายกรัฐมนตรีผ่านภาพล้อเลียนในเฟสบุ๊ค

 รัฐบาลใช้กฎหมายที่เข้มงวดเพื่อดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดในข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”

รัฐบาลพบอย่างน้อยที่สุด 59 คดี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตั้งแต่เข้ายึดอำนาจเมื่อพฤษภาคม 2557 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแสดงความเห็นในสังคมออนไลน์ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2558 รัฐบาลได้ตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพชายคนหนึ่ง สำหรับการเผยแพร่รูปและความเห็นผ่านทางเฟสบุ๊คเชิงหัวเราะสุนัขทรงเลี้ยง ศาลทหารลงโทษอย่างรุนแรง ในเดือนสิงหาคม 2558 นายพงษ์ศักดิ์ ศรีบุญเพ็ง ถูกพิพากษาจำคุก 60 ปี ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ด้วยการโพสในเฟสบุ๊ค (ต่อลดหย่อนให้เหลือ 30 ปี เนื่องจากรับสารภาพ) ซึ่งเป็นการ-จำคุกที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย

 ตั้งแต่เข้ายึดอำนาจ รัฐบาลเชิญนักเรียกนักรณรงค์ อย่างน้อย 1,340 คน ซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนพรรคการเมือง และผู้ที่ปกป้องสิทธิมนุษยชน เพื่อสอบสวนและปรับทัศนคติ ในเรื่องทัศนคติทางการเมือง 

  ซึ่งการไม่มาตามหมายเรียกของ คสช. ถือเป็นความผิดต้องขึ้นศาลทหาร ด้วยอำนาจ คสช. ทหารสามารถคุมขังประชาชนอย่างลับๆ โดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหา หรือการสอบสวนนั้นผู้ต้องสงสัยไม่มีสิทธิในการเรียกทนาย หรือป้องกันตนเองจากการละเมิด รัฐบาลปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลทรมานผู้ต้องหาหรือว่าดูแลไม่ดี แต่ก็ไม่สามารถหาหลักฐานมาสนับสนุนคำกล่าวของตนหรือโต้แย้งข้อกล่าวหาได้

 รัฐบาลใช้ศาลทหารมากยิ่งขึ้นซึ่งจำกัดเสรีภาพและไม่เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากลในเรื่องของการพิจารณาคดี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557 มีคดีที่ถูกพิจารณาในศาลทหารซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อย่างน้อย 1,629 คดี 

 รัฐบาล คสช. ยังคงละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงและต่อเนื่องผ่านการนิรโทษกรรม ไม่เคยมีผู้กำหนดนโยบาย ผู้บังคับบัญชา หรือทหารได้รับการลงโทษสำหรับการฆ่าโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือการกระทำความผิดใดๆในการใช้กำลังในช่วงปี 2553 

 ในการเผชิญหน้ากันทางเมืองส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 90 คน และบาดเจ็บมากกว่า 200 คน และยังไม่มีบุคลากรจากกองทัพคนใดถูกดำเนินคดีในกรณีการละเมิดสิทธิ์ในเหตุการณ์การก่อความไม่สงบเพื่อแบ่งแยกดินแดน ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส 
และยะลา ซึ่งมีการละเมิดสิทธิ์เป็นจำนวนมาก รัฐบาลมิได้ให้ความสนใจที่จะสอบสวนการฆ่าที่มิชอบด้วยกฎหมาย กว่า 2000 คดี ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “สงครามยาเสพติด” สมัยอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร

 ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนของไทยใช้กฎหมายหมิ่นประมาทเพื่อตอบโต้ผู้ที่แจ้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน รัฐบาลยังยัดเหยียดข้อหาให้แก่ทนายด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อเป็นการตอบโต้ ตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 ตำรวจจับกุม ทนาย ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ในข้อหาเป็นผู้นำการเรียกร้องประชาธิปไตย 

 ในเดือนมิถุนายน 2558 และยังไม่มีความคืบหน้าในการนำตัวผู้กระทำความผิดในคดีฆาตกรรมนายชัย บันทองเล็ก นักต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิที่ดินเมื่อกุมภาพันธ์ 2558 และนักต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ์ซึ่งเป็นสมาชิก-สภาชาวนาภาคใต้แห่งประเทศไทย ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตในปี 2553 และ 2555

 ในเดือนพฤศจิกายน 2558 มีการลดระดับความน่าเชื่อถือของคณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย เนื่องจากการไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน การไม่มีเอกเทศในการทำงาน และขั้นตอนในการเลือกสรรผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งกรรมาธิการมีความบกพร่อง

 ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลที่ถูกขังให้สาบสูญ แต่ยังมิได้ให้สัตยาบัน ประมวลกฎหมายนี้มิได้ยอมรับว่าการทำให้บุคคลสูญหายถือเป็นการก่ออาชญากรรม รัฐบาลไทยต้องคลี่คลายคดี จำนวน 64 คดี เกี่ยวข้องกับบุคคลสาบสูญ ซึ่งกลุ่มเฝ้าระวังเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้รายงานไว้ ซึ่งรวมถึงการสาบสูญของทนายมุสลิม สมชาย นิลไพจิต เมื่อเดือนมีนาคม 2547 และคดี พ่อชาลี รักจงเจริญ นักต่อสู้ชาวกะเหรี่ยง ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ “บิลลี่” ในเดือนเมษายน 2557

 แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นภาคีในสนธิสัญญาต่อต้านการทำทารุณ แต่ความล้มเหลวของรัฐบาลในการออกกฎหมายเพื่อนิยามการทำทารุณเป็นอุปสรรคต่อการบังคับใช้สนธิสัญญา ในขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายที่ระบุเรื่องการชดเชยหากผู้ต้องหาได้รับการทำทารุณ

 ประเทศไทยมิได้เป็นภาคีในสนธิสัญญาผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 และ พ.ศ. 2510 รัฐบาลไทยดำเนินการเรื่องผู้ลี้ภัย โดยถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายซึ่งจะต้องดำเนินการจับกุมและถูกส่งตัวกลับโดยปราศจากกระบวนการพิจารณาที่เป็นธรรม รัฐบาลไทยจะบังคับให้ผู้ลี้ภัยเดินทางกลับประเทศของตนซึ่งบุคคลเหล่านี้จะต้องเผชิญการถูกสังหาร การกระทำแบบนี้เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ และการประท้วงจากข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และรัฐบาลประเทศต่างๆ ซึ่งรวมถึงการส่งนักเรียกร้องชาวจีนกลับประเทศและชาวอุยกูร์ อีก 109 กลับไปยังประเทศจีนเมื่อกรกฎาคม 2558

 รัฐบาลไทยห้ามเรือซึ่งบรรทุกผู้อพยพชาวโรฮิงยาจากประเทศพม่าขึ้นฝั่ง โดยจัดส่งเสบียงและความช่วยเหลืออื่นๆ เท่าที่จำเป็น และผลักกันให้เรือเหล่านั้นออกทะเลไป เมื่อเดือนพฤษภาคม 2558 จากการจู่โจมตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย พบชาวโรฮิงยาถูกขังและถูกทรมาน บ้างก็ถูกฆ่า โดยพ่อค้ามนุษย์ซึ่งร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐในการกระทำความผิด 

 ประเทศไทยจัดประชุมระหว่างประเทศเพื่อชี้ให้เห็นว่ามีชาวโรฮิงยาถูกทิ้งอยู่กลางทะเล อย่างไรก็ตามประเทศไทยกลับปฏิเสธที่จะร่วมมือกับข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติในการกำหนดสถานภาพของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยา ซึ่งต่างจากอินโดนิเชียและมาเลเซีย ประเทศไทยกลับสร้างที่กักกันถาวรสำหรับชาวโรฮิงยา

 รัฐบาลไทยแม้จะเพิ่มความเข้มข้นในมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ อย่างไรก็ตาม คนงานชาว กัมพูชา พม่า และลาว กลับยังอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิ์โดยพ่อค้ามนุษย์ระหว่างทางการมาประเทศไทย และนายจ้างชาวไทยก็จะยึดเอกสารสำคัญของคนงานเหล่านี้และบังคับให้ทำงานใช้หนี้จำนวนมาก บัตรรุ่นใหม่สำหรับคนงานเหล่านี้ยังคงจำกัดสิทธิ์ และยังอาจทำให้พวกเขาสุ่มเสี่ยงจากการกรรโชกจากตำรวจ การค้ามนุษย์เพื่อมาค้าประเวณี ใช้แรงงานอย่างกดขี่ หรือทำงานในเรือประมงเป็นแรมเดือนแรมปี ยังคงเป็นข้อกังวลในสายตานานาประเทศ

 นายฟิเชอร์ กล่าวต่อ ว่า อย่าไปหลงเชื่อคำสัญญาจากรัฐบาลไทยเรื่องสิทธิมนุษยชน ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติควรกดดันให้ประเทศไทยยอมรับและปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อยุติวังวนนี้ ด้วยการยุติการกดขี่ เคารพในเสรีภาพพื้นฐาน และนำพาประเทศไทยไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย

แปลจากแหล่งข้อมูล :

https://www.hrw.org/news/2016/05/11/thailand-un-review-highlights-juntas-hypocrisy

Human Rights Watch ออกใบแถลง ข่าว เรื่อง รัฐบาลไทย ละเมิดสิทธิมนุษย์ชน     
May 11, 2016 

Thailand: UN Review Highlights Junta’s Hypocrisy 

End Downward Rights Spiral, Restore Civilian Rule
อย่าหลงเชื่อ! เรื่องสิทธิมนุษยชน อย่าหลงเชื่อ! เรื่องสิทธิมนุษยชน Reviewed by Unknown on 06:07 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.