ข้อกล่าวหา "พระธัมมชโย" ทำถึงเป็นเรื่องใหญ่โต!!!

เรื่อง DSI กับ กรณีหลวงพ่อพระธัมมชโย

รายการ ฟังความรอบด้าน
1 มิย.2559

"ในแง่ของกระบวนการยุติธรรม"

คดีที่เกิดขึ้นคืออะไร ? 

สิ่งที่ดำเนินการได้คืออะไร ?

สิ่งที่ควรจะดำเนินการคืออะไร ???



สัมภาษณ์ ทนายวิญญัติ ชาติมนตรี
เลขาธิการกลุ่มนักกฏหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน

หลวงพ่อพระธัมมชโย ในฐานะที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสของวัดพระธรรมกาย 

มีที่มาที่ไปจากคดีเครดิตคลองจั่นยูเนี่ยน 

แล้วก็ ถูกกล่าวหาว่าเป็นการรับเช็คจากคนที่เอาไปบริจาค ว่าเป็นเช็คที่มาจากการฉ้อโกงจากการกระทำความผิด



   และคนรับเช็คก็อาจจะเป็นคนรับของโจร และเงินดังกล่าวนั้นก็เป็นการรับมาเพื่อเป็นการฝอกเงิน นี่คือที่มา

  สรุปง่ายคือ เกิดมีการดำเนินดคีกับผู้ต้องหารายหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์

ที่เอาเงินมาบริจาค ส่วนเงินที่เขาเอามา เขาได้เอากลับคืนไปให้แล้ว (โดยการตั้งกองทุน โดยกลุ่มลูกศิษย์)

  และเงินส่วนที่รับมานั้น ก็มีที่มาที่ไปชัดเจน จากปปง. ได้มีการตรวจสอบแล้วว่า เงินนั้นได้มาอย่างไร? และนำไปใช้อย่างไร?




"เงินนั้นนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของศาสนสถานจริง" ไม่ได้นำไปใช้อย่างอื่น

แต่ความสำคัญมันอยู่ที่ว่า จะเป็นคดีอะไรก็ตาม ถ้ามีความผิดทางอาญา การดำเนินการคดีอาญาในบ้านเราก็ใช้ระบบเก่า
มีแค่บางความผิด หรือต่อกฎหมายพิเศษบางอย่าง บางฉบับที่จะใช้ระบบไต่สวน

  ถ้าเป็นระบบเก่า เขาก็ต้องมีการเรียกมาเพื่อที่จะแจ้งข้อกล่าวหา
ถ้าไม่เรียกก็ต้องมีการออกหมายจับ 

  แต่ในเหตุการณ์คดีของหลวงพ่อพระธัมมชโยนี้ พนักงานสอบสวน นั่นก็คือ พนักงานของ ดีเอสไอ เขาก็เอากฎหมายนี้มาวาง ตั้งไว้ว่าเราจะทำตามนี้นะ ก็มองว่าคดีนี้มีอัตราโทษเกิน 3 ปี 

  เมื่อเกิน 3 ปี คดีนี้มีความเชื่อว่า หรือหลักฐานเชื่อได้ว่าต้องถูกกล่าวหาจะกระทำความผิด และจะหลบหนี 2 ประเด็นนี้ พูดตามป.วิ มาตรา 66 แล้วเอามาเป็นตัวตั้งในการที่จะดำเนินการใดๆ

  นั่นก็คือกระบวนการออกหมายจับนั้นเอง ถามว่ามีความจำเป็นไหม ที่จะต้องรีบออกหมายจับ คือหลายๆ เรื่องมันก็เป็นเรื่องที่น่าสงสัย เป็นคำถามเกี่ยวกับประชาชน รวมถึงศิษยานุศิษย์ และคนที่สนใจในการเมืองอยู่แล้วว่า

แล้วในคดีอื่นๆ ดีเอสไอ ไม่เห็นต้องทำแบบนี้



มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องออกหมายจับ ?
แล้วรีบด่วนไปจับ !!

แน่นอนว่าเรื่องการออกหมายจับเป็นเรื่องที่ ดีเอสไอ ทำได้ ตามกฎหมาย  แต่การกระทำดังกล่าว มันมีเหตุอันสมควรในการที่จะไปขอออกหมายจับหรือไม่?

ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปอยู่แล้วว่า หลวงพ่ออาพาธ ไม่สามารถเดินทางได้ แล้วก็มีหนังสือแจ้งไป ขั้นตอนนั้นมันก็เป็นการข้ามขั้นตอนไปแล้ว 

แต่ก็เป็นข้อสังเกตว่า ทำไม ดีเอสไอ ไม่พยายามที่จะหาทางออกในการที่จะไปตรวจสอบ ว่าท่านป่วยจริงหรือไม่?


 ย้อนกลับมาถามถึงขั้นตอนของหมายเรียก แล้วตามมาด้วยหมายจับ ทั้งหมายเรียกและหมายจับนี้ เรียกไปเพื่ออะไร???

เพื่อให้ไปรับทราบข้อกล่าวหา!! ในแง่ของพนักงานสอบสวนก็เพื่อ แจ้งข้อกล่าวหาให้เขาทราบนั้นแหละ

  แม้กระทั่งการที่ออกมาเป็นหมายจับแล้ว ก็เพื่อที่จะแจ้งข้อกล่าวหา ยังไม่สามารถเอาไปดำเนินเป็นคดีได้นะ

  เพราะว่าคดีอาญาทุกคดี โดยเฉพาะคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อแผ่นดิน อย่างที่หลวงพ่อท่านถูกกล่าวหานี้

  จะต้องมีการสอบสวน ก่อนการสอบสวนก็ต้องมีการแจ้งข้อกล่าวหา แจ้งข้อกล่าวหา ก็ต้องมีการสอบสวน สอบสวนเสร็จก็มีการปิดสำนวน ทำสำนวนไปสู่อัยการ



เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ยังไม่ได้เริ่มต้นเลย ยังไม่ได้สอบสวนอะไรเลยยังไม่ได้แปลว่า พระธัมมชโยผิดหรือถูก!!!

คือเขาก็อาจจะสอบสวนหลังจากที่มีคนไปกล่าวโทษ หรือตั้งประเด็นไว้ในคดีอาญา สอบในแง่ของด้านอื่นๆ ทั้งสอบสวน สืบสวนก็เป็นหน้าที่ของ ดีเอสไอ ไป

แต่การสอบสวนในด้านของผู้ต้องหานี้ยังไม่ได้เริ่ม เพียงแค่จะเอาท่านไปแจ้งข้อกล่าวหาเท่านั้น


ถามว่าแจ้งข้อกล่าวหาเสร็จ รุ่งขึ้นออกหมายจับได้ไหม ก็ไม่ได้ ไม่ทันอยู่ดี บอกว่าเป็นคดีใหญ่มีหลักฐานเยอะ ก็เป็นไปไม่ได้อยู่ดี
ก็แค่รับทราบข้อกล่าวหา เป็นขั้นตอนแรก

คดีที่ถูกกล่าวหาคือรับของโจร และผิด พ.ร.บ. ฝอกเงิน
เป็นข้อกล่าวหาที่จะแจ้ง แต่มีความผิดอื่นอีกหรือไม่ยังไม่ทราบ

แต่มีคำถามว่า 
ทำไม ? ดีเอสไอ ไม่หาวิธีการที่มันง่ายไปกว่านี้
ดีเอสไอ ทำอะไรได้บ้าง ? ก็ต้องไปตรวจสอบว่า สิ่งที่ท่านป่วยนี้ จริงหรือไม่ ?

 แต่เท่าที่ทราบหลักฐานที่เอาไปใช้ในการไต่สวนในชั้นศาลก่อนที่ศาลจะออกหมายจับ

  ในวันนั้นมีการนำคลิป วีดีโอ นำหลักฐาน แล้วก็การตั้งข้อสังเกต . .
ไม่ว่าจะเป็นใบรับรองแพยท์ เพื่อที่จะกล่าวหาว่า หรือไม่เชิงกล่าวหาแต่พยายามที่จะคัดค้านหลักฐานของทนายความที่นำไปนั้น ไม่ชอบ รับฟังไม่ได้ นั่นหมายถึงการโต้แย้งกันในทางคดี ในเรื่องของพยานหลักฐาน

   ซึ่งบทบาทของดีเอสไอในลักษณะอย่างนั้นผมมองว่า เป็นการวางตัวค่อนข้างที่จะดูแล้วเป็นเรื่องที่น่าหนักใจในแง่ของประชาชนมอง องค์กรของรัฐ



  แม้ท่านจะไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร แต่กรณีของหลวงพ่อพระธัมมชโย 
ในเมื่อท่านเป็นสมณเพศ เป็นพระ ก็เป็นพระผู้ใหญ่ ก็มีคุณูปการต่อประเทศ ในส่วนของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และก็มีศิษยญานุศิษย์มากนับล้านคน

ถามว่าไม่ใช่เพียงการที่จะไปโต้แย้ง ขัดค้านว่า พยานหลักฐานที่อ้างว่าป่วยนี้รับฟังไม่ได้

แต่ท่านจะต้องทำวิธีอื่นเช่น ท่านสามารถที่จะเอาแพยท์ไปตรวจ
หรือหาวิธีการที่จะอลุ่มอลวยในการที่จะเลื่อนระยะเวลาที่จะแจ้งข้อกล่าวหาก็ทำได้ อายุความไม่หมดง่ายๆ แน่นอน

แต่ ดีเอสไอ เลือกวิธีเอาหลักฐานต่างๆ ไปสืบค้น ไปสืบเสาะมา ในการที่จะโต้แย้งให้ฟังไม่ได้ว่า เหตุป่วยไม่น่าเชื่อถือ

แล้วเอาเรื่องนี้ไปตั้งประเด็นว่า เมื่อไม่น่าเชื่อว่าป่วยจริง! ก็แสดงว่าจะหลบหนี ศาลก็จะออกหมายจับ และสุดท้าย ! นำไปสู่ การออกหมายจับในวันนั้น !

ดีเอสไอ มีสิทธิ์ที่จะไม่เชื่อว่าป่วยจริง เพราะเขาก็ทำอย่างนั้นอยู่แล้ว ทั้ง ดีเอสไอ ตั้งข้อสังเกต และตั้งประเด็นในการที่จะมาไต่สวน ทั้งในการข่าว ทั้งในเรื่องของการทำ IO ในสังคมภายนอก หรือทั้งในสังคมโชเชี่ยล สังคมมีเดียออนไลน์ก็ตาม

เขาก็ออกมาจับจุดตรงนั้นตรงนี้ ซึ่งมันเริ่มเข้าไปสู่เรื่องของการเมืองแล้ว ก็เอามาแสดง เอามาโต้แย้งกัน ทั้งภายนอกด้วย

ฉะนั้นสิ่งที่ ดีเอสไอทำ ผมไม่ได้บอกว่า ดีเอสไอ ทำผิด 
แต่ทำให้สังคมกำลังมองว่า ดีเอสไอ ปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่เหมาะสม ?



แน่นอนครับสิ่งที่เกิดขึ้น มันไม่ใช่ครั้งนี้ครั้งเดียว
การปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้ ดำเนินการไป 1 2 3 ดำเนินไปสู่อนาคตข้างหน้า นั่นมันจะเป็นการสะสมในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ

ผมกำลังมองว่าทั้งหมดนี้ จะรวมถึงพฤติการณ์ทั้งหมดของพนักงานสอบสวนชุดนี้

ถ้าหากว่าการกระทำดังกล่าว เกิดการปฏิบัติหน้าที่ ที่ไม่เป็นการเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายจริงๆ และไม่ได้รับความเป็นธรรม
ทำให้ผู้ต้องหา หรือผู้หนึ่งผู้ใด ได้รับความเสียหาย ก็เข้ากับ 157 ได้



อันนี้ผมไม่ได้พูดขู่ กำลังบอกว่าขั้นตอนต่างๆ ดีเอสไอ อย่าชะล่าใจว่าตัวเองมีอำนาจ

ทุกคนมีอำนาจ เจ้าหน้าที่ทุกคนมีอำนาจจริง ตามกฎหมายที่ให้ไว้ 
แต่การมีอำนาจนั้นต้องใช้ให้ถูกต้อง และเหมาะสม เพื่อให้สังคมไม่เกิดการแตกแยก

เรื่องนี้เป็นไปตามนโยบายของ คสช. อยู่แล้ว โดยเฉพาะคำสั่งของ คสช. ฉบับที่ 63/57 วางนโยบายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมไว้เลย
แล้ว ดีเอสไอ นำไปปฏิบัติหรือไม่

ดีเอสไอกำลังเลือกที่จะไม่ไปแจ้งข้อกล่าวหาที่วัด
ทั้งๆ ที่ลูกศิษย์เขาขอให้ไปที่วัด

คือจริงๆ แล้ว ดีเอสไอเข้าไปแจ้งข้อกล่าวหาที่วัดก็ได้ แต่ว่าไม่ได้ไป

กฎหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวน แจ้งข้อกล่าวหาที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เขายึดถือเอาเวลาทำการ เวลาทำการของพนักงานสอบสวน ซึ่งไม่เฉพาะกลางวัน กลางคืนก็ทำได้ ดีเอสไอ ก็ทราบเรื่องนี้

แต่เหตุใดที่ไม่ไปวัดพระธรรมกาย 
ก็อยากฟังเหตุผลของเราเหมือนกัน !

จนกระทั่งมาถึงเรื่องของการออกหมายจับ 

และในกรณีนี้ การออกหมายจับ ก็เพื่อมาแจ้งข้อกล่าวหา!
ฉะนั้นต้องดูว่า การแจ้งข้อกล่าวหาทำได้อย่างไรบ้าง

การแจ้งข้อกล่าวหา ทำได้โดยไม่ต้องมีหมายจับได้ 
ก็มีหมายจับแล้วก็ไม่เป็นไร แต่หมายจับนั้นไม่ได้บอกว่า ดีเอสไอ 
ทำอะไรก็ได้ หรือนำกองกำลังเข้าไปบุกในวัดแล้วจับก็ได้ ผมไม่ได้บอกว่านั้นเพราะว่าถ้าทำอย่างนั้น
อาจจะถือว่าเป็นการกระทำที่เกินขอบเขต



ถามว่า ดีเอสไอ กลัวอะไรครับ ในวัดพระธรรมกายมีอะไร
 มีแต่คนที่ไปทำบุญ ถือศีลกัน เท่าที่ผมทราบนะ ก็เป็นอย่างนั้น
ท่านสามารถทำได้ แต่ท่านไม่ไป ท่านไปออกหมายจับ !!

ทั้งที่กฎหมายเปิดช่องให้ว่าทำได้ จะแจ้งข้อกล่าวหาที่ใดก็ได้
ก็คือไปที่วัดได้ แล้วทำไม ? ดีเอสไอ ไม่ทำ ?

https://m.youtube.com/watch?v=0pDzr39oJCw#
ข้อกล่าวหา "พระธัมมชโย" ทำถึงเป็นเรื่องใหญ่โต!!! ข้อกล่าวหา "พระธัมมชโย" ทำถึงเป็นเรื่องใหญ่โต!!! Reviewed by Unknown on 05:06 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.